บิ๊กโจ๊ก กวาดเงินกู้ปูพรม 53 จุด 6 จังหวัด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี มหาสารคาม,อุดรธานี เชียงใหม่ และแพร่ ยึดทรัพย์ กว่า 1500 ล้านบาท เร่งประสานสรรพากร-ดีเอสไอ เยียวยาชาวบ้านเมืองแพร่ หลังนายทุนเลี่ยงภาษี 260 ล้าน จนถูกสรรพากร

ยึดที่ดิน

ต่อมาเวลา 20.00 น. วันที่ 15 ก.พ. พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบช.สตม. พล.ต.ต.บุญลือ กองบางยาง รองผบช.ภ.4 นพ.ไกรฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่า

ราชการจังหวัดแพร่ พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม ผบก.สตม. พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง ผบก.ตม.3 พ.ต.อ. ธวัชชัย พงษ์วิวัฒนชัย รอง ผบก.สส.ภ.5 พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิสมัย ผกก.สภ.บ้านเป็ด พ.ต.ท.ธนารัตน์ มีทองหลาง รองผกก.สส.สภ.ชนบท พ.ต.ท.จามร อันดี รองผกก.ป.สภ.ท่าพระ พ.ต.ท.อาริศ คูประสิทธิรัตน์ รองผกก.สาย

ตรวจ

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญ เร่งรัดขับเคลื่อนแก้ไข จึงได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและดำเนินการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการปราบปรามทั่วประเทศบังคับใช้กฎหมายที่ดินคืนให้กับประชาชน ขอยืนยันว่าหลังจากนี้จะเพิ่มมาตรการความเข้มข้นในการดำเนินการ โดยนำมาตรการทางกฎหมายเข้ามาใช้สามส่วนประกอบไปด้วย มาตรการทางภาษีของกรมสรรพากร มาตรการยึดทรัพย์ของสำนักงานปปง. และมาตรการกฎหมายอาญาฟอกเงิน
จะเห็นได้ว่าปัญหาหนี้นอกระบบได้สร้างปัญหาก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม โฉนดที่ดินตกอยู่ในกลุ่มนายทุนเพียงไม่กี่คน หนำซ้ำยังเอาเปรียบลูกหนี้

อีกด้วย

ผบช.สตม. กล่าวอีกว่า โดยในพื้นที่จังหวัดแพร่ ตรวจค้น22 จุดในส่วนของนายทุน 4 เครือข่าย โดยตรวจยึดโฉนดที่ดิน 1600 ฉบับ เนื้อที่กว่า 2000ไร่ มูลค่ากว่า 1000 ล้านบาท อีกทั้งพบว่ามีกลุ่มนายทุนที่มีลักษณะเปิดกิจการลิซซิ่งชื่อเซนลิซซิ่ง ทำการรับขายฝากที่ดิน โดยมีสาจากว่า 150 สาขาทั่วประเทศ โดยในจังหวัดแพร่มีมากกว่า 6 สาขา อีกทั้งที่ดินบางส่วนของพี่น้องประชาชนถูกกรมสรรพากรอายัดไว้เนื่องจากนายทุนมีพฤติกรรมหลบเลี่ยงภาษี และมีเรื่องฟ้องร้องกันในชั้นศาล ตั้งแต่ปี 2552 โดยครั้งนัเนสำนักตรวจสอบภาษีอากรกลาง ประเมินเรียกเก็บ 260 ล้านบาท โดยให้สรรพากรจ.แพร่เป็นผู้เรียกเก็บ แต่ทางนายทุนไม่ยอมจ่าย และขออุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง และได้มีการฟ้องร้องกันจนล่าสุดศาลฎีกาได้พิพากษาให้กรมสรรพากรชนะคดี ต่อมากรมสรรพากรตรวจสอบมีที่ดิน 200-400 แปลงอยู่ในความครอบครองของนายทุนดังกล่าวบางรายอยู่ในความครอบครองของผู้อื่น จึงอาศัยอำนาจตามม.12 ตามประมวลรัษฎากร ยึดที่ดินดังกล่าวไว้ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จะบูรณาการหารือแนวทางการกรมสรรพากร และทางดีเอสไอ ในการที่จะวางแนวทางเพื่อที่จะนำที่ดินมาคืนพี่น้องประชาชนโดยเร็วที่สุด เนื่องจากสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านกลัวคือที่ดินจะถูกขายทอดตลาด และเกรงว่าที่ดินจะตกไปอยู่ในมือของผู้อื่น อย่างไรก็ตามในวันที่ 28 ก.พ.ที่จะถึงนี้ ทางพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำกับดูแลสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานมอบโฉนดคืนให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากหนี้นอกระบบและนายทุนดอกเบี้ยโหด ที่จ.มหาสารคาม ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 8ต่อไป

นพ.ไกรฤทธิ์ กล่าวว่า ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ วางแนวทางดำเนินการตาม 4 แนวทาง ในการเร่งแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องจ.แพร่ โดยแนวทางแรกทางดีเอสไอจะประสานกองทุนยุติธรรมจังหวัด เพื่อประสานทนายความให้คำปรึกษา และต่อสู้คดีทางแพ่ง แนวทางที่สองประสานสถาบันบริหารจัดการที่ดิน องศ์การมหาชน ในการจัดซื้อที่ดินดังกล่าวไว้ก่อน แนวทางที่สามประสานกรมสรรพากรให้ถอนอายัดที่ดินดังกล่าว เพื่อที่จะให้คณะทำงานดำเนินการตามแนวทางที่สี่ คือตรวจสอบการได้มาซึ่งที่ดินว่าถูกต้องหรือไม่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *