ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงา พลตำรวจโทสุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บัญชากานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว
ร่วมกันทลายแหล่งจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
โดยได้รับการประสานขอความร่วมมือจากสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
ตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารประเทศของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งได้รับการประสานขอความร่วมมือจากสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทย
ปลอดบุหรี่ ว่าในปัจจุบันมีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์รวมทั้งน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก โดยมีการจำหน่ายตามทางสื่อออนไลน์ และตลาดนัดกลางคืนมากที่สุดตามลำดับ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย พลตำรวจเอกจักรทิพย์
ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ตั้งศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ( ศปอส.ตร.) เพื่อเร่งรัดในการปฏิบัติการติดตามจับกุมคนร้ายซึ่งมีแผนประทุษกรรมที่ซับซ้อน ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการกระทำความผิด โดย พลตำรวจโทสุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) ได้สั่งการให้ดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดตามที่ได้รับการประสานงานมาดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 จับกุมผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บริเวณตลาดคลองถม
จับกุมร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 9 ร้าน ได้ผู้ต้องหา 5 คน เป็นคนไทย 3 คน สัญชาติลาว 2 คน พร้อมด้วยของกลาง
น้ำยา 1,729 ขวด
บุหรี่ไฟฟ้า 113 อัน
อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า 198 ชิ้น
รวม 2,040 รายการ มูลค่าประมาณ 500,000 บาท
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2562 จับกุมผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บริเวณตลาดนัดกลางคืนทั้งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
จับกุมร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 21 ร้าน ได้ผู้ต้องหา 18 คน เป็นคนไทย 16 คน สัญชาติเมียนม่า 2 คน พร้อมด้วยของกลาง
น้ำยา 1,127 ขวด
บุหรี่ไฟฟ้า 81 เครื่อง
อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า 752 ชิ้น
อุปกรณ์อื่นๆ 25 รายการ
รวม 1,985 รายการ มูลค่าประมาณ 425,000 บาท
ในข้อหา
1.ขายหรือให้บริการสินค้า บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าหรือตัวยา บารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า(มาตรา 36,56 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522)
2.ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากโดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย(มาตรา 30,42 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522)
3.ขายหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบโดยฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐมนตรีที่มีคำสั่งห้ามขายหรือนำเข้า(มาตรา 11 วรรค 3 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535)
4.นำเข้าซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร (มาตรา 246 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560)
5.ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อรับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิด ตามมาตรา 242 ( มาตรา 246 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 )
6.นำเข้าซึ่งสินค้าต้องห้าม ตามมาตรา 5(1) หรือ ฝ่าฝืนมาตรา 7(1) มาตรา (20) พ.ร.บ.การส่งออกฯ
7.มีไว้ในครอบครองและขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าที่มิได้เสียภาษี หรือภาษีไม่ครบถ้วน ( มาตรา 203,204 พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2560 )
8.เป็นบุคคลต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน ( มาตรา 8,110 วรรค 1 พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของต่างด้าว พ.ศ.2560 ) ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จับกุมตัวนำส่งพนักงานสอบสวน พื้นที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
การกระทำของ ผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนี้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 30,36,42,56 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 มาตรา 11 วรรค 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 242,246 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วหรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ.การส่งออกฯ มาตรา 5(1) หรือ ฝ่าฝืนมาตรา 7(1) มาตรา (20) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็น เงินสองเท่าครึ่งของสินค้าที่นําผ่าน หรือทั้งจําทั้งปรับ กับให้ริบสินค้ารวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะใดๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดรวมทั้งพาหนะที่ใช้ลากจูงพาหนะบรรทุกสินค้านั้นเสีย
พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2560 มาตรา 203,204 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับตั้งแต่ ห้าเท่าถึงสิบห้าเท่าของค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือที่เสียไม่ครบถ้วน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าแปดร้อยบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของต่างด้าว พ.ศ.2560 มาตรา 8,110 วรรค 1 ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ทั้งนี้ ขอสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์ ไปยังประชาชนทั่วไปว่าการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย พร้อมทั้งผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อร่างกาย หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมให้สอบถามข้อมูลได้ที่
ศปอส.ตร.โทร 1155 หรือ ผ่านแอฟพลิเคชั่นไลน์(ศปอส.ตร.) หรือ ผ่านเฟซบุ๊ก(Facebook) ของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ โทร.0-2716-6961 กด 0, 0-2716-6661-4 ต่อ 6028 เพื่อดำเนินการนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป